บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2008

เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850 MB

รูปภาพ
ปกติแล้วแผ่นซีดี 1 แผ่นจะเก็บข้อมูลได้สูงสุดไม่เกิน 700 MB แต่วันนี้นายเกาเหลาจะขอสร้างปาฏิหาริย์ ด้วยการเขียนข้อมูลให้ได้ความจุถึง 850 MB บอกก่อนนะครับว่าไม่ได้โม้ แต่ทำได้จริง ก่อนอื่น CD-Writer ของคุณจะต้องรองรับเขียนแผ่นแบบ Overburn หรือเขียนแบบ Oversize ได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว CD-Writer ในปัจจุบันก็สามารถใช้งานแบบนั้นได้อยู่แล้ว (นอกเสียจากว่า CD-Writer จะเป็นรุ่นเจ้าคุณทวด อันนี้ก็คงต้องบายทิปนี้ไป) คราวนี้ให้เปิดโปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่ TAB General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAB Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk- at- onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข 99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk-at-once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย ระบบจะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบ ทำให้คอมพ์มันถามยืนย

New technology computer

วีดีโอจาก http://www.youtube.com/

ลบไฟล์ขยะ หลังจากเลิกเล่นเน็ต ช่วยลดปัญหาไวรัส

รูปภาพ
เวลาเราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โปรแกรม IE ก็จะทำการ download ข้อมูลมาเก็บไว้ในเครื่องของเราก่อน จากนั้นถ้าเราเลิกเล่น ไฟล์เหล่านี้ก็จะค้างในเครื่องของเรา นอกจากปัญหาไฟล์ในเครื่องที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อที่ใน harddisk ของเราไม่เพียงพอแล้ว อาจมีไวรัสแอบแฝงเข้ามาในเครื่องคอมฯ ของเราได้ด้วย ดังนั้นวิธีการจัดการอย่างหนึ่งที่ง่ายก็คือ กำหนดให้โปรแกรม IE ลบไฟล์ขยะเหล่านี้อัตโนม้ติทุกครั้งที่ปิดโปรแกรม สำหรับขั้นตอนก็สั้นๆ ครับ เพียงทำตามรายละเอียดข้างล่างนี้ วิธีกำหนดให้ลบไฟล์ขยะจากอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติ 1.คลิกเมนู Tools 2.เลือกคำสั่ง Internet Options 3.คลิกเลือกแท็ป Advanced 4.เลื่อนลงมาที่หัวข้อ Security 5.จากนั้น คลิกหัวข้อ Empty Temporaly Internet Files Folder when browser is closed 6.กดปุ่ม Apply อีกครั้งเพื่อยืนยัน 7.แล้วนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลเพิ่มเติม:: ส่วนดีของการที่โปรแกรม IE มีการ download ไฟล์มาเก็บไว้ในเครื่องของเรา ทำให้การใช้งานในครั้งต่อไป สามารถเปิดดูรายละเอียดในเว็บนั้นๆได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการ download ซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ควรเปรียบเทียบผลดี ผลเส

คีย์ลัด

รูปภาพ
- Alt + Tab ใช้สำหรับการเปลี่ยนหน้าต่างของซอฟต์แวร์ ที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น - Ctrl + Esc ใช้สำหรับเรียก Start Menu ขึ้นมาใช้งาน - Alt + F4 ใช้สำหรับปิดหรือออกจากโปรแกรม (Close) ที่เปิดใช้งานอยู่ขณะนั้น - Ctrl + Alt + Del ใช้สำหรับการสั่งบูทเครื่องใหม่ กรณีที่ไม่สามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้แล้ว - Print Screen ใช้สำหรับการเก็บภาพหน้าจอขณะนั้นเก็บไว้ โดยจะนำไป past วางในโปรแกรมแต่งภาพได้ - Alt ใช้สำหรับการเรียก เมนูด้านบน โดยจะต้องใช้ปุ่มลูกศร สำหรับการเลือกทำงานควบคู่กันไปด้วย - Esc ใช้สำหรับการยกเลิกการทำงาน หรือออกจากการตั้งค่าต่าง ๆ หรือแทนคำว่า Cancel เป็นส่วนมาก - Enter ใช้สำหรับการยอมรับ หรือแทนการกด OK เป็นส่วนมาก - Space Bar ใช้สำหรับการเลือกบนปุ่มที่มีการ high light ไว้ จะใช้งานคล้าย ๆ กับปุ่ม Enter - Home หรือ Ctrl + Home ใช้สำหรับการเลื่อน Scrool Bar ไปที่ตำแหน่งแรกของหน้าต่างนั้น - End หรือ Ctrl + End ใช้สำหรับการเลื่อน Scroll Bar ไปที่ตำแหน่งท้ายสุดของหน้าต่างนั้น - Shift + ปุ่มลูกศร มักจะใช้แทนการเลือก ช่วงของตัวอักษรหรือข้อความนั้น สำหรับการแก้ไขหรือการ copy - F1 มักจะใช้แทน

รับส่ง Fax ใน Windows XP

รูปภาพ
รับส่ง แฟ๊กซ์ โปรแกรมที่คอยมานาน ก่อนหน้านี้ผมได้มีการแนะนำโปรแกรมรับ-ส่งแฟ๊กซ์ และก็มีสมาชิกหลาย ๆ ท่านเขียนเข้ามาถามเรื่องวิธีการใช้งาน รวมถึงแหล่งที่มีการขายโปรแกรมด้วยความสนใจ มาวันนี้คงเป็นคำตอบที่ดี เพราะทาง Microsoft เอง ได้ผนวกโปรแกรมรับ-ส่ง แฟ๊กซ์ ไว้ภายใน Windows XP แล้ว อย่างน้อยก็ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหาโปรแกรมมาเสิรม.. หมายเหตุ การรับ-ส่ง แฟ๊กซ์จะต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ แฟ๊กซ์-โมเด็ม รวมทั้งโทรศัพท์หนึ่งสาย วิธีการใช้งานโปรแกรมรับ-ส่ง แฟ๊กซ์ * เริ่มต้นจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมสักเล็กน้อย โดยคลิกที่ปุ่ม Start เลือก Printers and Faxes * คลิกเลือกไอคอน Fax และทำตามขั้นตอนที่แสดงไว้ * หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว จะมีโปรแกรมเสิรมเข้ามาคือ Fax Console *การรับแฟ๊กซ์ ให้คลิกที่เมนู File เลือก Receive a fax now รอสักครู่ *การส่งแฟ๊กซ์ สามารถส่งผ่านโปรแกรมที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น MS Word, MS Excel เป็นต้น การส่ง ให้คลิกเลือกเมนู Print คลิกเลือก Fax จากนั้นจะมีเนู Fax Wizard เกิดขึ้น คลิก Next จะได้ดังภาพประกอบดังนี้ - ช่อง To พิมพ์ชื่อผู้รับ ช่อง Fax number ให้ใส่หมา

ยูนิกซ์ป้องกันไวรัสได้อย่างไร ?

คุณสมบัติหนึ่งของไวรัสคือ มันสามารถที่จะแพร่กระจายได้รวดเร็ว เมื่อผู้ใช้โหลดโปรแกรมที่ติดไวรัสขึ้นมาใช้งาน บน DOS หรือ Windows นั้น ไวรัสจะเริ่มทำงาน โดยฝังตัวลงในหน่วยความจำ เนื่องจาก DOS และ Windows อนุญาตให้เรียกใช้ฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง เมื่อผู้ใช้เลิกทำงานแล้ว โปรแกรมก็จะถูกปลดจากหน่วยความจำ แต่ไวรัสยังคงฝังตัวอยู่ พอผู้ใช้คนอื่นมาเรียกโปรแกรม ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมที่ไม่มีไวรัส ไวรัสก็จะเขียนตัวเองลงบนโปรแกรมใหม่นั้นทันที เนื่องจากยูนิกซ์มีเปลือกเป็นผู้ประสานงาน ขอใช้หน่วยความจำของเครื่องต่อแก่น เมื่อผู้ใช้โหลดโปรแกรม แก่นก็จะจัดสรรที่ให้ใช้ โดยไม่อนุญาตให้ทำอะไรกับส่วนที่ไม่ได้รับมอบหมาย เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จสิ้น แก่นจะปลดโปรแกรมจากหน่วยความจำทันที ในกรณีที่ไม่สามารถปลดได้ ไวรัสก็ไม่อาจระบาดไปกับผู้ใช้คนอื่น เพราะผู้ใช้คนหนึ่งๆ ไม่มีสิทธิ์ไปเขียนทับไฟล์ หรือ ส่วนของหน่วยความจำที่ไม่ใช่ของตนได้ ทำให้ไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายได้ คนจึงไม่สร้างไวรัสสำหรับยูนิกซ์ แต่ไปทำสำหรับ Windows ง่ายกว่ากันเยอะ อ้างอิงจากเว็บ http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/c/unix/index.htm

การเข้าสู่และออกจากระบบยูนิกซ์

ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่ อนุญาตให้มีผู้ใช้พร้อมๆ กันได้หลายคน จึงต้องมีวิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัว ของผู้ใช้แต่ละคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ ส่วนตัวไว้ใช้งาน ซึ่งพื้นที่นี้ถูกเรียกว่าไดเรคทอรีบ้าน (home directory) ผู้ใช้มีสิทธิ์ทุกประการ ในการอ่านเขียนบนไดเรคทอรีบ้านของตนอย่างอิสระ ส่วนในไดเรคทอรีบ้านของคนอื่นนั้นอยู่ที่ผู้ใช้คนอื่นจะยินยอมหรือไม่ ผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรส่วนรวม (public resources) ซึ่งผู้บริหารระบบ (system administration) จะเป็นคนจัดการให้ใครมีสิทธิ์มากกว่าใคร การที่ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้จึงต้องมีรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้ระบบของตนเอง ยูนิกซ์มีวิธีการในการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่าการล็อกอิน (logging in) โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า login prompt ให้เมื่อจะเข้าสู่ระบบ login : password : ที่ login: เราจะต้องป้อนชื่อ account ของเรา จากนั้นป้อนรหัสผ่าน password ซึ่งจะมองไม่เห็น เมื่อเราล็อกอินเข้าสู่ระบบ เราจะไปอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า เปลือก (shell) ซึ่งมีไว้รองรับการทำงานของเรา เราจะไม่สามารถไปทำอะไรกับระบบปฏิบัติการได้โดยตรง ส่วนของระบบที่ทำหน้าที่ติดต่อก

Unix คืออะไร ?

ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว ซึ่งรูปแบบของระบบไฟล์ ตลอดจน ระบบคำสั่งของยูนิกซ์ก็ได้เป็นต้นแบบให้ บิล เกตส์ เขียนระบบปฏิบัติการดอส(DOS) ขึ้นมา ในสมัยนั้นเป็นยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งผู้ครองตลาดในเวลานั้นก็คือ IBM ซึ่งมีระบบปฏิบัติการที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ชื่อว่า VM/CMS (ระบบปฏิบัติการนี้ปัจจุบันยังมีการใช้งานกันอยู่ โดยเฉพาะในสถาบันการเงิน ส่วนในสถาบันศึกษาก็มีที่จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ที่อื่นๆ เขาเลิกใช้กันหมดแล้ว) ทำหน้าที่ควบคุมระบบทุกอย่าง ตั้งแต่จอเทอร์มินัล ระบบสำรองข้อมูล เครื่องพิมพ์ การประมวลผล โดยผู้ควบคุมระบบ (System Administrator) สามารถเฝ้าดูการใช้งานอย่างใกล้ชิด ในสมัยนั้นผู้ใช้ต้องไปนั่งหน้าจอเทอร์มินัล ป้อนคำสั่งต่างๆ หรือ พิมพ์โปรแกรมโดยการทำให้เสร็จเป็นหน้าๆ แล้วจึงส่งทุกอย่างที่เก็บไว้ ในบัฟเฟอร์ของจอเทอร์มินัลทั้งหมด ไปประมวลผลบนเครื่องเมนเฟรม เมื่องานที่หน้าจอเทอร์มินัลเริ่มจะซับซ้อนมากขึ้น เทอร์มินัลก็เริ่มจะพัฒนาขึ้น มีหน่วยประมวลผลเล็กๆ เป็นของตัวเอง (microprocessor) มีหน่วยความจำมากขึ้น ตลอดจนมีซอฟท์แว

คำสั่งแรกใน Linux

เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เมื่อผ่านการตรวจสอบ Bios แล้ว จะมี Prompt LILO boot: ขึ้นมา ให้พิมพ์ linux แล้วกดปุ่ม Enter ถ้าไม่พิมพ์อะไรภายใน 30 วินาที LILO จะบูท Dos(windows95) ให้เอง จากนั้น Linux จะเริ่ม Start ระบบ จนถึงข้อความ RED HAT LINUX Release 5.0 (Hurricane)Kernel 2.0.32 on an i586local host login ให้พิมพ์ root แล้วจะถาม password : ให้ใส่ password ที่ได้กำหนดไว้ลงไป จากนั้นจะขึ้น [root@localhost /root]# ลองใช้คำสั่ง ls ลองใช้คำสั่ง cd /usr ใช้คำสั่ง ls ใช้คำสั่ง ls -l ลองกดปุ่ม Alt +ปุ่ม F2 จะมีหน้าจอใหม่ขึ้นมา หาต้องการกลับไปหน้าจอเดิม ให้กดปุ่ม Alt + ปุ่ม F1 ใช้คำสั่ง startx ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ระบบ x window จะทำงาน ลองขยับ mouse ว่าทำงานได้ดีหรือไม่ หากต้องการออกจาก x window ให้กดปุ่ม Ctrl + Alt + Backspace การออกจาก Linux ให้ใช้คำสั่ง shutdown -r now (ออกแล้วบูทเครื่องใหม่)shutdown -h now (ออกแล้วปิดเครื่อง) Linux คืออะไร? “Linux” (อ่านได้หลายแบบ แต่ที่เห็นใช้กันมากมี 3 แบบคือ “ลีนุกซ์”,“ไลนักซ์” และ “ลินิกซ์”) เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 3

ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS

ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS หรือ Linux School Internet Server เป็นชุดซอฟต์แวร์ Linux รวมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นในการใช้งานเป็น Internet Serverอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นวิธีการติดตั้งที่ง่าย และมีซอฟต์แวร์ที่จำเป็นมาพร้อม พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NTL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก-ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งออกแบบมาสำหรับโรงเรียน ที่เชื่อมต่อกับโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) และสถาบันการศึกษาที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสาร (ThaiSarn) Linux-SIS พัฒนามาจาก Slaceware Linux Distribution โดยมีการเพิ่มซอฟต์แวร์ ที่จำเป็นในการใช้งาน Internet Serve พร้อมการตั้งค่าต่างๆ เริ่มต้นให้ มีระบบการติดตั้งที่ง่าย แยกส่วนที่เพิ่มเติมจาก Slackware อย่างชัดเจน *ออกแบบมาเพื่อให้การติดตั้งและเริ่มใช้งาน สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว * มีซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครบครัน อ้างอิงจากเว็บ http://linuxunix54321.tripod.com/Linux05.htm

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกันหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง ป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซลในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console) สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS, SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP,SMTP, Gopher, WWW Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของMath Proce

แนะนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaumเพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991 โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้

ประวัติของ Linux

ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่เช่น 1.0

ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร

Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

รูปภาพ
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System) คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น 2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calc

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

รูปภาพ
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้ ลักษณะเฉพาะขอ งเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 o ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก o มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

รูปภาพ
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing) ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 o ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก o ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า) o ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

รูปภาพ
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 o ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น o เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) o มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) o สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) o เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

รูปภาพ
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 o ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง oทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น o เริ่มมีกา

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

รูปภาพ
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

คอมพิวเตอร์กับชีวิตประจำวัน

คุณมีบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็กหรือไม่? คุณเคยดูภาพยนตร์ สมัยใหม่ ๆ ที่มีเทคนิคพิเศษบ้างหรือไม่? คุณเคยใช้บริการฝาก-ถอนเงินจากตู้ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ หรือ "เอทีเอ็ม" (ATM ) บ้างหรือไม่? คุณเคยชำระค่าน้ำค่าไฟต่าง ๆ ผ่านธนาคารบ้างหรือ ไม่? คุณเคยเล่นเกมคอมพิวเตอร์บ้างหรือไม่? คุณเคยเล่นอินเทอร์เน็ตหรือไม่? นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตคุณโดยที่คุณอาจจะรู้ตัวและไม่รู้ตัว... ทุกวันนี้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้านที่ค่อย ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ปรับตัว ลดลง เหตุผล สำคัญที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กันมากขึ้นก็คือ การที่คอมพิวเตอร์ สามารถช่วยในการทำงานซ้ำ ๆ ซาก ๆ ปริมาณมาก ๆ แทน มนุษย์เราได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่มีพลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ยัง สามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากเป็นฐานข