การเข้าสู่และออกจากระบบยูนิกซ์

ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่ อนุญาตให้มีผู้ใช้พร้อมๆ กันได้หลายคน จึงต้องมีวิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัว ของผู้ใช้แต่ละคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ ส่วนตัวไว้ใช้งาน ซึ่งพื้นที่นี้ถูกเรียกว่าไดเรคทอรีบ้าน (home directory) ผู้ใช้มีสิทธิ์ทุกประการ ในการอ่านเขียนบนไดเรคทอรีบ้านของตนอย่างอิสระ ส่วนในไดเรคทอรีบ้านของคนอื่นนั้นอยู่ที่ผู้ใช้คนอื่นจะยินยอมหรือไม่ ผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรส่วนรวม (public resources) ซึ่งผู้บริหารระบบ (system administration) จะเป็นคนจัดการให้ใครมีสิทธิ์มากกว่าใคร การที่ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้จึงต้องมีรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้ระบบของตนเอง ยูนิกซ์มีวิธีการในการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่าการล็อกอิน (logging in) โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า login prompt ให้เมื่อจะเข้าสู่ระบบ

login :


password :


ที่ login: เราจะต้องป้อนชื่อ account ของเรา จากนั้นป้อนรหัสผ่าน password ซึ่งจะมองไม่เห็น เมื่อเราล็อกอินเข้าสู่ระบบ เราจะไปอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า เปลือก (shell) ซึ่งมีไว้รองรับการทำงานของเรา เราจะไม่สามารถไปทำอะไรกับระบบปฏิบัติการได้โดยตรง ส่วนของระบบที่ทำหน้าที่ติดต่อกับฮาร์ดแวร์เพื่อทำงานเรียกว่า แก่น (kernel)

ข้อดีของการมีเปลือก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง ทำให้ยูนิกซ์มีความเสถียรมาก และป้องกันการติดไวรัส เพราะเปลือกจะต้องติดต่อขออนุญาตจากแก่น ในการเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ ทรัพยากรร่วมอื่นๆ ไม่อาจทำอะไรตามอำเภอใจ ยูนิกซ์มีเปลือกให้เลือกหลายชนิด ที่นิยมกันก็มี Bourne Shell (sh) C Shell(csh และ tcsh) Korn Shell (ksh) สำหรับ account ของนักศึกษา ผมได้ตั้งค่าให้ใช้ tcsh นักศึกษาสามารถเปลี่ยนไปใช้เปลือกแบบอื่นได้ โดยใช้คำสั่ง chsh ถ้าไม่ชอบใจ
การทำงานของผู้ใช้บนเปลือกทำได้ 2 ประการคือ การใช้คำสั่งซึ่งเปลือกมีไว้ให้ใช้ กับการ run โปรแกรมอื่นๆ ซึ่งทุกครั้งที่ทำการ run โปรแกรม เปลือกจะเป็นผู้ประสานงานกับแก่น ในกรณีที่ต้องการใช้ฮาร์ดแวร์ โปรแกรมไม่สามารถทำอะไรกับฮาร์ดแวร์ตรงๆ ต่างจากระบบ DOS และ windows 95 ที่โปรแกรมสามารถเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ได้ตรงๆ
ในขณะที่ล็อกอินอยู่ หากอยากดูว่ามีใครอยู่บนระบบพร้อมกับเราสามารถใช้คำสั่ง who หรือ w และ finger ซึ่งหากอยากรู้ข้อมูลของใครเป็นคนๆ ละก้อ สามารถใช้คำสั่ง finger user-account เช่น finger noy จะรู้ว่าผมเป็นใคร มาจากไหน การออกจากระบบ สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง exit หรือ Control D หรือ logout



อ้างอิงจากเว็บ http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/c/unix/index.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร

แนะนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux