Unix คืออะไร ?

ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว ซึ่งรูปแบบของระบบไฟล์ ตลอดจน ระบบคำสั่งของยูนิกซ์ก็ได้เป็นต้นแบบให้ บิล เกตส์ เขียนระบบปฏิบัติการดอส(DOS) ขึ้นมา ในสมัยนั้นเป็นยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งผู้ครองตลาดในเวลานั้นก็คือ IBM ซึ่งมีระบบปฏิบัติการที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาก ชื่อว่า VM/CMS (ระบบปฏิบัติการนี้ปัจจุบันยังมีการใช้งานกันอยู่ โดยเฉพาะในสถาบันการเงิน ส่วนในสถาบันศึกษาก็มีที่จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ที่อื่นๆ เขาเลิกใช้กันหมดแล้ว) ทำหน้าที่ควบคุมระบบทุกอย่าง ตั้งแต่จอเทอร์มินัล ระบบสำรองข้อมูล เครื่องพิมพ์ การประมวลผล โดยผู้ควบคุมระบบ (System Administrator) สามารถเฝ้าดูการใช้งานอย่างใกล้ชิด ในสมัยนั้นผู้ใช้ต้องไปนั่งหน้าจอเทอร์มินัล ป้อนคำสั่งต่างๆ หรือ พิมพ์โปรแกรมโดยการทำให้เสร็จเป็นหน้าๆ แล้วจึงส่งทุกอย่างที่เก็บไว้ ในบัฟเฟอร์ของจอเทอร์มินัลทั้งหมด ไปประมวลผลบนเครื่องเมนเฟรม เมื่องานที่หน้าจอเทอร์มินัลเริ่มจะซับซ้อนมากขึ้น เทอร์มินัลก็เริ่มจะพัฒนาขึ้น มีหน่วยประมวลผลเล็กๆ เป็นของตัวเอง (microprocessor) มีหน่วยความจำมากขึ้น ตลอดจนมีซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของเทอร์มินัลเอง เทอร์มินัลแบบนี้มีชื่อเรียกว่าเวอร์คสเตชัน (workstation) ความหมายก็คือ เป็นสถานีงานเพื่อประมวลผลขั้นต้น ก่อนที่จะส่งงานมาที่เมนเฟรม ต่างจากเทอร์มินัลที่เป็น เพียงที่พักของข้อมูลเท่านั้น กาลต่อมาเมื่อเวอร์คสเตชัน ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีระบบแสดงผลแบบกราฟิกส์ มีความเร็วเพิ่มขึ้น เครื่องเวอร์คสเตชันเริ่มสามารถที่จะทำงานอิสระ ไม่ได้เป็นเพียง สถานีงานของเครื่องเมนเฟรมอีกต่อไป ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อรองรับการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพของเครื่องเวอร์คสเตชัน นี้
แม้ว่าเครื่องเวอร์คสเตชัน จะมีจุดกำเนิดจากวงการเงินและการธนาคาร แต่กลับได้รับความสนใจ จากนักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง จนในที่สุดก็ได้แยกตัวมาพัฒนาเอง เพื่อใช้สำหรับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรโดยเฉพาะ จนบางครั้งได้รับการกล่าวขานถึงว่าเป็น scientific workstation อันหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากมีความสามารถในการประมวลผลที่เร็ว มีระบบแสดงผลกราฟิกส์ และที่สำคัญก็คือ มีระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่สามารถทำงานแบบมัลติยูเซอร์ และ interactive (ระบบ VM/CMS ไม่สามรถทำได้เพราะเป็น batch operating system) อาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชันในโลกนี้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ นอกจากนั้นยังรวมถึง เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลายชนิดเช่น CRAY และ Silicon Graphics เป็นต้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบยูนิกซ์นี้ได้รับการติดตั้ง ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาวิทยาศาสตร์จะต้องเรียนรู้ ระบบปฏิบัติการนี้ ทั้งนี้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์บางประเภท ที่อาจต้องใช้ขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่นอกเหนือจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียวอย่าง Windows 95 และ Windows NT


อ้างอิงจากเว็บ http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/c/unix/index.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร

แนะนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux